วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

5 วิธีรักษาคอมพิวเตอร์

5 วิธีรักษาคอมพิวเตอร์



1. Scan Disk รักษา Bad Sector

หลายคนอาจจะสงสัยหรืออาจจะคุ้นหรืออาจจะไม่รู้จักเจ้ าสแกนดิสก์เลยนะครับเราจะอธิบายกันก่อน Scan Diskก็คือตัวรักษาย่อยที่มีอยู่ทุกวินโดวตั้งแต่ Windows 95 มาจนถึง Windows Vista เลยนะครับซึ่งนับว่าเป็นความยาวนานของโปรแกรม Scan Disk ที่ฝังมาใน Windows ต่างๆ แต่ละเวอร์ชั่นเลยทีเดียว Scan Disk เป็นโปร-แกรมรักษาฮาร์ดดิสก์นะครับแก้ไขไฟล์ต่างๆ ที่เสียให้กลับมาดีได้เป็นบางไฟล์รักษา Bad Sector ของฮาร์ดดิสก์วิธีการรักษาทำได้ดังนี้

1. เข้าไปที่ My Computer

2. คลิ๊กขวาที่ไดรว์ที่เราต้องการเลือกจะ Scan

3. สังเกตุแถบด้านบนให้เลือกที่แถบ Tools

4. จะพบว่ามีเมนูที่ชื่อว่า Check Now ... คลิ๊กเข้าไป

5. จะมีคำสั่งให้ติ๊กถูกสองช่องคือ

-5.1 Scan รักษาไฟล์ที่เสียบางไฟล์ (ไม่สามารถใช้ได้กับไดรว์ที่ลง Windows)

-5.2 Scan รักษา Bad Sector ของฮาร์ดดิสก์เลือกแล้วก็กด Scan Now ...


หมายเหตุ : ไม่แนะนำให้ทำทั้งสองอย่างในการสแกนครั้งเดียว และ ตอนสแกนห้ามเปิดโปรแกรมใดๆ ทั้งสิ้น


2. Defragment Harddisk

หลายคนอาจจะงงว่าอะไรคือ Defragment Defragment คือการจัดเรียงข้อมูลที่ระเกะระกะของ Harddisk ที่กระจัดกระจายอย่างไม่เป็นระเบียบสามารถจัดให้เป็นระเบียบได ้วิธีนี้จะทำให้เครื่องของเราเร็วแรงขึ้นและรักษาอาย ุการใช้งานของฮาร์ดดิสก์ได้ จัดเรียงข้อมูลบางคนอาจจะเข้าใจผิดว่า เอ้ย! เดี๋ยวมันอาจจะย้ายไฟล์สำคัญของเราก็ได้อย่าทำดีกว่าอย่าเข้าใจผิดนะครับมันจะไม่ย้ายไฟล์สำคัญของคุณแต่อ ย่างใดดังนั้นไม่ต้องห่วงเรื่องนี้ได้เลย ...วิธีรักษาสามารถทำได้ดังนี้


1. เข้าไปที่ My Computer

2. Click ขวาที่ Drive ที่เราต้องการ Defragment

3. สังเกตุด้านบนจะพบแถบ Tools คลิ๊กเข้าไป ...

4. ดูบรรทัดที่สองจะเห็นเมนูที่ชื่อว่า Defragment Now ... คลิ๊กเข้าไป

5. เลือกไดรว์ที่ต้องการทำแล้วกด Defragment6. รอจนการทำงานจะเสร็จสิ้น


*หมายเหตุ : ไม่ควรเปิดโปรแกรมใดๆ ในระหว่างสแกนอย่าปิด หรือ Restart คอมฯ ระหว่างการสแกนมิฉะนั้นคอมฯ คุณอาจจะเสียได้


3. ลบขยะที่แสนจะไร้สาระรกเปล่า ๆ ออกไป

ขยะในคอมพิวเตอร์เรามิใช่หมายถึงไฟล์ที่คุณลบแล้วอยู ่ใน Recycle Bin อย่างเดียวไฟล์ขยะยังมาจากไฟล์ที่เป็นขยะบนฮาร์ดดิสก ์ดังนั้นเราควรจะลบมันออกไปซะวิธีการรักษาสามารถทำได้ดังนี้


1. ไปที่เมนู Start ด้านล่าง Toolbar

2. ไปที่ All programs ...

3. Accessories ...

4. System Tools ...

5. แล้วคลิ๊กที่ Disk Cleanup

6. เลือกไดรว์ที่ต้องการลบขยะ

7. กด Ok

8. รอจนจบการลบ ...


*หมายเหตุ : ไม่ควรใช้โปรแกรมที่มีการ Save งาน หรือ Internet Explorer


4. Scan Virus

ให้สิ้นซากVirus เป็นโปรแกรมเล็กที่ชั่วร้ายสามารถเติบโตจนกลืนกิน Windows ทั้งหมดได้เลย Virus จึงพัฒนาตัวเองได้ตลอด

เราจะไม่รู้เลยว่า Virus เข้ามายังไงส่วนใหญ่ไวรัสจะมาจาก Flash Drive , USB กล้องดิจิตอล , Card Reader

อุปกรณ์ทุกชนิดมีการบันทึกข้อมูลนะครับทำให้เราต้องร ะวังเป็นพิเศษเวลาทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลวิธีการรักษา ให้เราไปหาโปรแกรมสแกนไวรัสที่เราคิดว่าไว้ใจได้มาสแกนมันซะแ ต่ที่ผมแนะนำจะมีอยู่ 2 โปรแกรม

1. NOD32 Antivirus

2. Kaspersky Antivirus

สองโปรแกรมนี้จะทำให้ Virus ของคุณหายไปได้ง่ายๆ ไม่ต้องเป็นห่วง + กับการป้องกันอย่างสุดยอดที่ไวรัสไม่กล้าเข้าใกล้เลยแม้แต่นิดเดียว


5. Spyware

ออกไปซะเหอะหลังจากที่เราเอา virus ออกไปได้แล้วอีกตัวนึงที่เป็นญาติกับ Virus ซึ่งก็คือ "Spyware" Spyware เป็นโปรแกรมตัวนึงที่มีการทำงานคล้ายๆ ไวรัสแต่ไม่ได้ซะทั้งหมดสปายแวร์จะนำโปรแกรมที่น่ารำ คาญอย่างเช่น Banner โฆษณาโปรแกรมที่เด้งออกเวลาเราไม่ต้องใช้พวกนี้คือ Spyware วิธีกำจัดมันให้เราไปโหลด หรือ ซื้อโปรแกรมสแกน Spyware ยี่ห้อต่างๆที่เราเชื่อถือที่ผมแนะนำคือ

1. Ad - Aware 2007

2. SpyDoctor


สองโปรแกรมนี้จะเป็นโล่กำบังชั้นดีที่ Spyware ไม่กล้าเข้าใกล้คอมพิวเตอร์ของท่านเลย



อ้างอิง


เรื่อง 5 วิธีรักษาคอมพิวเตอร์ :http://www.thaigaming.com/howto/26228.htm



โปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก

โปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก


พ.ศ. 2385 สุภาพสตรีชาวอังกฤษชื่อ Lady Augusta Ada Byron ได้ทำการแปลเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่อง Analytical Engine และได้เขียนขั้นตอนของคำสั่งวิธีใช้เครื่องนี้ให้ทำการคำนวณที่ยุ่งยากซับซ้อนไว้ในหนังสือ Taylor's Scientific Meri es
จึงนับได้ว่า ออกุสต้า เป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก และยังค้นพบอีกว่าชุดบัตรเจาะรู ที่บรรจุชุดคำสั่งไว้ สามารถนำกลับมาทำงานซ้ำใหม่ได้ถ้าต้องการ นั่นคือหลักการทำงานวนซ้ำ หรือที่เรียกว่า Loop เครื่องมือคำนวณที่ถูกพัฒนาขึ้นในศตวรรษที่ 19 นั้น ทำงานกับเลขฐานสิบ (Decimal Number) แต่เมื่อเริ่มต้นของศตวรรษที่ 20 ระบบคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ
จึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงมาใช้เลขฐานสอง (Binary Number)กับระบบคอมพิวเตอร์ ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากหลักของพีชคณิต


Lady Augusta Ada Byron
อ้างอิง


เรื่องโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก http://nananapraw.exteen.com/20080915/entry


รูปภาพ http://www.school.net.th/

บิดาแห่งคอมพิวเตอร์

บิดาแห่งคอมพิวเตอร์





Charles Babbageชาร์ลส์ แบบเบจ
บิดาแห่งคอมพิวเตอร์
(1791-1871)
ผลงาน : เครื่องคำนวณหาผลต่าง differential machine และเครื่องวิเคราะห์ analytical machine


ชาร์ลส แบบเบจ (Charles Babbage) เกิดที่อังกฤษ ในครอบครัวของนายธนาคาร และเติบโตมาในยุคที่อังกฤษเป็นประเทศที่มีอำนาจ และกำลังอยู่ในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนทุนพัฒนาในสาขาต่างๆ อย่างเต็มที่ แบบเบจศึกษาระดับมหาวิทยาลัยที่ ทรินิตี้ คอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ที่คณะคณิตศาสตร์ (Mathematical Laboratory)
Charles Babbage (26 ธันวาคม 1791 – 18 ตุลาคม 1871) เขาเป็นนักคณิตศาสตร์ นักปรัชญาวิเคราะห์ และเป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เนื่องจากเขาเป็นคนแรก ที่มีแนวคิดเรื่องเครื่องคำนวณที่สามารถโปรแกรมหรือสั่งให้ทำงานได้ เครื่องในจินตนาการของเขายังไม่เสร็จสมบูรณ์ เขาก็เสียชีวิตก่อนที่จะได้เห็นความฝันของเขาเป็นจริง ปัจุบันนี้ผลงานของเขาไว้ถูกเก็บและแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ลอนดอน ผลงานนั้นคือเครื่องคำนวณหาผลต่าง (Difference Engine) และเมื่อปี 1991 นี้เองที่เครื่องหาผลต่างนี้ถูกสร้างให้เสร็จสมบูรณ์ตามแบบที่ Babbage ได้ออกแบบไว้ แสดงให้เห็นว่าเครื่องจักรจากแนวคิดของเขาทำไงานได้จริงแล้ว

อ้างอิง

เรื่อง บิดาแห่งคอมพิวเตอร์ : http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/computer/evolution/Pioneers_Babbage.htm

รูปภาพ : http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/computer/evolution/Pioneers_Babbage.htm

ประวัติคอมพิวเตอร์



ประวัติคอมพิวเตอร์




ช่วงปี ค.ศ. 1930 ถึงช่วงปี ค.ศ. 1940 เป็นช่วงที่โลกได้มีคอมพิวเตอร์ที่สามารถโปรแกรมได้และคำนวณผลลัพธ์ได้มีประสิทธิภาพจริง แต่เป็นการยากที่จะตัดสินได้ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกENIAC (Electronics Numerical Integrator and Computer) เกิดขึ้นในปี1946 และประดิษฐ์โดย จอห์น ดับลิว มอชลีย์ (John W. Mauchly) และ เจ เพรสเพอร์ เอคเกิรต (J. Prespern Eckert) ทำงานโดยใช้หลอดสุญญากาศจำนวน 18,000 หลอด มีน้ำหนัก 30 ตัน ใช้เนื้อที่ห้อง 15,000 ตารางฟุต เวลาทำงานต้องใช้กำลังไฟถึง 140 กิโลวัตต์ คำนวณในระบบเลขฐานสิบ


-ค.ศ. 1941 เป็นครั้งแรกที่โลกได้มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่สามารถตั้งโปรแกรมได้อย่างอิสระ ผู้พัฒนาคือ Konrad Zuse และชื่อคอมพิวเตอร์คือ Z1 Computer





-ค.ศ. 1944 John Presper Eckert และ John W. Mauchly ได้ร่วมกันสร้างอีนิแอก ซึ่งใช้หลอดสูญญากาศจำนวน 20,000 หลอด เพื่อสร้างหน่วยประมวลผล และถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกสำหรับการใช้งานทั่วไป โดยมีการประมวลผลแบบทศนิยม โดยหากต้องการตั้งโปรแกรมจะต้องต่อสายเชื่อมต่อเครื่องอุปกรณ์ใหม่ทั้งหมด



-ค.ศ. 1948 Frederic Williams และ Tom Kilburn สร้างคอมพิวเตอร์ที่ใช้ หลอดรังสีคาโทด เป็นหน่วยความจำ


-ค.ศ. 1947 ถึง 1948 John Bardeen, Walter Brattain และ Wiliam Shockley สร้างคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทราสซิสเตอร์ ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สำคัญ


-ค.ศ. 1951 John Presper Eckert และ John W. Mauchly ได้พัฒนา UNIVAC Computer ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่มีการขาย


-ค.ศ. 1953 ไอบีเอ็ม (IBM) ออกจำหน่าย EDPM เป็นครั้งแรก และเป็นก้าวแรกของไอบีเอ็มในธุรกิจคอมพิวเตอร์


-ค.ศ. 1954 John Backus และ IBM ร่วมกันสร้างภาษาคอมพิวเตอร์ชื่อ FORTRAN ซึ่งเป็นภาษาระดับสูง (high level programming language) ภาษาแรกในประวัติศาสตร์คอมพิวเตอร์


-ค.ศ. 1955 (ใช้จริง ค.ศ. 1959) สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด, ธนาคารแห่งชาติอเมริกา, และ บริษัทเจเนอรัลอิเล็กทริก ร่วมกันสร้าง ERMA และ MICR ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกในธุรกิจธนาคาร


-ค.ศ. 1958 Jack Kilby และ Robert Noyce เป็นผู้สร้าง Integrated Circuit หรือ ชิป (Chip) เป็นครั้งแรก


-ค.ศ. 1962 สตีฟ รัสเซลล์ และ เอ็มไอที ได้พัฒนาเกมคอมพิวเตอร์เป็นครั้งแรกของโลกชื่อว่า "Spacewar"


-ค.ศ. 1964 Douglas Engelbart เป็นผู้ประดิษฐ์เมาส์ และ ระบบปฏิบัติการแบบวินโดวส์


-ค.ศ. 1969 เป็นปีที่กำเนิด ARPAnet ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของอินเทอร์เน็ต


-ค.ศ. 1970 อินเทล พัฒนาหน่วยความจำชั่วคราวของคอมพิวเตอร์หรือ RAM เป็นครั้งแรก


-ค.ศ. 1971 Faggin, Hoff และ Mazor พัฒนาไมโครโปรเซสเซอร์ตัวแรกของโลกให้อินเทล (Intel)


-ค.ศ. 1971 Alan Shugart และ IBM พัฒนา ฟลอปปี้ดิสก์ เป็นครั้งแรก


-ค.ศ. 1973 Robert Metcalfe และ Xerox ได้พัฒนาระบบอีเทอร์เน็ต (Ethernet) สำหรับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์


-ค.ศ. 1974 ถึง ค.ศ. 1975 Scelbi และ Mark-8 Altair และ IBM ร่วมกันวางจำหน่ายคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ใช้รายย่อยเป็นครั้งแรก


-ค.ศ. 1976 ถึง ค.ศ. 1977 ถือกำเนิด Apple I, II และ TRS-80 และ Commodore Pet Computers ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลรุ่นแรกๆ ของโลก


-ค.ศ. 1981 ไมโครซอฟท์ วางจำหนาย MS-DOS ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมที่สุดในช่วงนั้น


-ค.ศ. 1983 บริษัทแอปเปิล ออกคอมพิวเตอร์รุ่น Apple Lisa ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์รุ่นแรกที่ใช้ระบบ GUI


-ค.ศ. 1984 บริษัทแอปเปิล วางจำหน่ายคอมพิวเตอร์รุ่น แอปเปิล แมคอินทอช ซึ่งทำให้มีการใช้คอมพิวเตอร์อย่างกว้างขวาง


-ค.ศ. 1985 ไมโครซอฟท์ วางจำหน่าย ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ เป็นครั้งแรก


หนึ่งในคอมพิวเตอร์ที่เก่าแก่ที่สุดของโลก
ในรูปเป็นเครื่องจำลองตั้งอยู่ที่ มหาวิทยาลัยไอโอวาสเตต




อ้างอิง


เรื่อง ประวัติคอมพิวเตอร์ :http://th.wikipedia.org/wiki/

รูปภาพ :http://th.wikipedia.org/wiki/

อินเทอร์เน็ต



อินเทอร์เน็ต




อินเทอร์เน็ต หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้



ที่มา



อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย
ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้ถูกพัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน



การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต

-ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล์ (e-Mail)
-สนทนา (Chat)
-อ่านหรือแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ด
-การติดตามข่าวสาร
-การสืบค้นข้อมูล / การค้นหาข้อมูล
-การชม หรือซื้อสินค้าออนไลน์
-การดาวโหลด เกม เพลง ไฟล์ข้อมูล ฯลฯ
-การติดตามข้อมูล ภาพยนตร์ รายการบันเทิงต่างๆ ออนไลน์
-การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์
-การเรียนรู้ออนไลน์ (e-Learning)
-การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (Video Conference)
-โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP)
-การอับโหลดข้อมูล
-อื่นๆ



อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย



อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการ เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร"
การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย
[1]
จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ ปี 2534 (30คน) ปี 2535 (200 คน) ปี 2536 (8,000 คน) ปี 2537 (23,000 คน).... ในปี 2550 จากจำนวนประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปประมาณ 59.97 ล้านคน พบว่า มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 16.04 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 26.8 และมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 9.32 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 15.5 เมื่อพิจารณาตามภาคพบว่า กรุงเทพฯ มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 40.2 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 29.9 รองลงมาคือ ภาคกลางมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 27.5 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 15.7 ภาคเหนือมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 26.0 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 15.6 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 22.9 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 11.9 ภาคใต้มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 25.2 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 12.7
[2]





อ้างอิง



เรื่อง อินเตอร์เน็ต :
http://th.wikipedia.org/wiki/



รูปภาพ :
http://learners.in.th/file/tidarutnee/internet01.gif

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

องค์กร epa

สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection Agency -EPA)







สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection Agency -EPA) หรือ "อีพีเอ" เป็นหน่วยงานระดับประเทศ หรือระดับรัฐบาลกลางของประเทศสหรัฐอเมริกา มีหน้าที่ดูแลปกป้องสุขภาพของมวลมนุษย์และปกป้องสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ซึ่งได้แก่อากาศ น้ำและแผ่นดิน EPA เริ่มปฏิบัติงานเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2513 จัดตั้งโดยประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน โดยมีผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้บังคับบัญชา หน่วยงานนี้ไม่ใช่กระทรวงแต่ผู้อำนวยการได้รับการเทียบเท่ากับรัฐมนตรี ผู้อำนวยการคนปัจจุบัน (พ.ศ. 2550) คือนายสตีเฟน แอล จอห์นสัน (Stephen L. Johnson) และผู้ช่วยผู้อำนวยการคือนายมาร์คัส พีคอค พนักงานเต็มเวลาในหน่วยงานนี้มีจำนวนประมาณ 18,000 คน[1]







อ้างอิง

องค์กร EPA :http://th.wikipedia.org/wiki/

รูปภาพ :http://images.google.co.th/imglanding

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์



ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

สำหรับคอมพิวเตอร์นั้น จะมีส่วนประกอบหลัก ๆ อยู่ 4 ส่วนด้วยกัน คือ
1. โปรเซสเซอร์ (Processor)
2. หน่วยความจำ(Memory)
3. ส่วนอินพุต/เอาต์พุต (Input/Output)
4. สื่อจัดเก็บข้อมูล(Storage)


1.โปรเซสเซอร์ (Processor)







โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ ที่มีความสำคัญมากที่สุด ของฮาร์ดแวร์เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์อินพุต ตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนประสำคัญ 3 ส่วน คือ
1. หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU) หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทำงานเกี่ยวข้องกับ การคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร นอกจากนี้หน่วยคำนวณและตรรกะของคอมพิวเตอร์ ยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไข และกฏเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ เช่น เปรียบเทียบมากว่า น้อยกว่า เท่ากัน ไม่เท่ากัน ของจำนวน 2 จำนวน เป็นต้น ซึ่งการเปรียบเทียบนี้มักจะใช้ในการเลือกทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะทำตามคำสั่งใดของโปรแกรมเป็น คําสั่งต่อไป
2. หน่วยควบคุม (Control Unit) หน่วยควบคุมทำหน้าที่คงบคุมลำดับขั้นตอนการการประมวลผลและการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ภายใน หน่วยประมวลผลกลาง และรวมไปถึงการประสานงานในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง กับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย เมื่อผู้ใช้ต้องการประมวลผล ตามชุดคำสั่งใด ผู้ใช้จะต้องส่งข้อมูลและชุดคำสั่งนั้น ๆ เข้าสู่ระบบ คอมพิวเตอร์เสียก่อน โดยข้อมูล และชุดคำสั่งดังกล่าวจะถูกนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำหลักก่อน จากนั้นหน่วยควบคุมจะดึงคำสั่งจาก ชุดคำสั่งที่มีอยู่ในหน่วยความจำหลักออกมาทีละคำสั่งเพื่อทำการแปล ความหมายว่าคำสั่งดังกล่าวสั่งให้ ฮาร์ดแวร์ส่วนใด ทำงานอะไรกับข้อมูลตัวใด เมื่อทราบความหมายของ คำสั่งนั้นแล้ว หน่วยควบคุมก็จะส่ง สัญญาณคำสั่งไปยังฮาร์แวร์ ส่วนที่ทำหน้าที่ ในการประมวลผลดังกล่าว ให้ทำตามคำสั่งนั้น ๆ เช่น ถ้าคำสั่ง ที่เข้ามานั้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับการคำนวณ หน่วยควบคุมจะส่งสัญญาณ คำสั่งไปยังหน่วยคำนวณและตรรกะ ให้ทำงาน หน่วยคำนวณและตรรกะก็จะไปทำการดึงข้อมูลจาก หน่วยความจำหลักเข้ามาประมวลผล ตามคำสั่งแล้วนำผลลัพธ์ที่ได้ไปแสดงยังอุปกรณ์แสดงผล หน่วยคงบคุมจึงจะส่งสัญญาณคำสั่งไปยัง อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ ที่กำหนดให้ดึงข้อมูลจากหน่วยความจำหลัก ออกไปแสดงให้เห็นผลลัพธ์ดังกล่าว อีกต่อหนึ่ง
3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory) คอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้เมื่อมีข้อมูล และชุดคำสั่งที่ใช้ในการประมวลผลอยู่ในหน่วยความ จำหลักเรียบร้อยแล้วเท่านั้น และหลักจากทำการประมวลผลข้อมูลตามชุดคำสั่งเรียบร้อบแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ จะถูกนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก และก่อนจะถูกนำออกไปแสดงที่อุปกรณ์แสดงผล ถ้าเปรียบเทียบกับร่างกายของมนุษย์โพรเซสเซอร์ก็น่าจะเปรียบเทียบเป็นเหมือนสมองของมนุษย์นั่งเอง ซึ่งคอยคิดควบคุมการทำงานส่วนต่างๆของร่างกาย ดังนั้นถ้าจัดระดับความสำคัญแล้วโพรเซสเซอร์ก็น่าจะมีความสำคัญเป็นอันดับแรก



2. หน่วยความจำ (Memory)


RAM ย่อมาจาก (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็น หน่วยความจำ ชนิดนี้จะสามารถเก็บข้อมูลได้ เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้นเมื่อใดก็ตามที่ไม่มีกระแสไฟฟ้า มาเลี้ยง ข็อมูลที่อยู่ภายในหน่วยความจำชนิดจะหายไปทันที หน่วยควมจำแรม ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าข้อมูล (Input) หรือ การนำออกข้อมูล (Output) โดยที่เนื้อที่ของหน่วยความจำหลักแบบแรมนี้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ

1. Input Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลนำเข้าที่ได้รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเข้าโดย ข้อมูลนี้จะถูกนำไปใช้ในการประมวลผลต่อไป

2. Working Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลที่อยู่ในระหว่างการประมวลผล

3. Output Storage Area เป็นส่วนที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อรอที่จะถูกส่งไปแสดงออก ยังหน่วยแสดงผลอื่นที่ผู้ใช้ต้องการ

4. Program Storage Area เป็นส่วนที่ใช้เก็บชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการจะส่งเข้ามา เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่ง ชุดดังกล่าว หน่วยควบคุมจะทำหน้าที่ดึงคำสั่งจากส่วน นี้ไปที่ละคำสั่งเพื่อทำการแปลความหมาย ว่าคำสั่งนั้นสังให้ทำอะไร จากนั้นหน่วยควบคุม จะไปควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ต้องการทำงานดังกล่าวให้ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ
หน่วยความจำหรือ RAM เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เมื่อคุณคิดจะใช้คอมพิวเตอร์ ดังนั้นการพิจารณา เลือกซื้อคอมพิวเตอร์จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงการ เลือกซื้อชนิดและปริมาณของหน่วยความจำด้วย

3. ส่วนอินพุต/เอาต์พุต(Input/Output)


อุปกรณ์อินพุต (Input device) คือ อุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสัมผัสและรับรู้สิ่งต่าง ๆ จากโลก ภายนอกได้ ตัวอย่างเช่น เครื่องอ่านบัตร คีย์บอร์ด เมาส์ อุปกรณ์นำข้อมูลเข้า คือ อุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสัมผัสและรับรู้สิ่งต่างๆ จากภายนอกเครื่องได้ อันได้แก่ โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่เขียนสั่งงาน ให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามขั้นตอน และข้อมูลที่ต้องใส่เข้าไปพร้อมกับโปรแกรม เพื่อส่งไปให้หน่วยประมวลผลกลางทำการประมวลผล และผลิตผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา ตัวอย่างเช่น เครื่องอ่านบัตร คีย์บอร์ด เมาส์ จอยสติก จอสัมผัส ปากกาแสง กล้องดิจิตอล สแกนเนอร์ เป็นต้น


อุปกรณ์เอาต์พุต (Output device) คือ อุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ควบคุมหรือส่งผลออกมาสู่โลกภายนอกได้ ตัวอย่างเช่น เครื่องเจาะบัตร จอภาพ เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์นำข้อมูลออก หรืออุปกรณ์แสดงผล คือ อุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ควบคุมหรือส่งผลออกมาสู่ภายนอกตัวเครื่องได้ หลังจากที่คอมพิวเตอร์ได้ทำการประมวลผลแล้ว ก็จะต้องมีวิธีในการนำผลลัพธ์ออกมาแสดง ซึ่งสามารถแบ่งอุปกรณ์แสดงผลนี้ ออกได้เป็น 3 ประเภทคือ อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ชั่วคราว เช่น จอภาพ (Monitor) อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ถาวร เช่น เครื่องพิมพ์ (Printer) และอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ถาวรทางด้านกราฟิก เช่น พลอตเตอร์ (Plotter) เป็นต้น


ตัวอย่าง อุปกรณ์ Input

เครื่องอ่านบัตร






คีย์บอร์ด





เมาส์








ตัวอย่าง อุปกรณ์ Output




เครื่องพิมพ์













จอภาพ




4. สื่อจัดเก็บข้อมูล (Storage)





สื่อที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลในอดีตเริ่มตั้งแต่การใช้บัตรเจาะรู ต่อมามีการใช้เทปแม่เหล็กซึ่งสามารถอ่านและเขียนได้รวดเร็วกว่า รวมทั้งยังเก็บรักษาง่ายและมีความจุสูง ต่อมามีการพัฒนาดิสก์(Disk) ขึ้นมา ซึ่งสามารถอ่าน และค้นหาข้อมูลได้รวดเร็วกว่าเทปแม่เหล็ก ดิสก์ในปัจจุบันมี 2 แบบ คือ
1. ดิสก์แบบอ่อน เป็นดิสก์ที่มีลักษณะเป็นแผ่นพลาสติกบางๆ และมีสารแม่เหล็กเคลือบภายนอก ตัวอย่างดิสก์แบบนี้ เช่น แผ่นดิสก์ขนาด 3.25 นิ้ว ที่เราใช้กันอยู่
2. ดิสก์แบบแข็ง เป็นแผ่นดิสก์ที่เป็นแผ่นอลูมิเนียม มีสารแม่เหล็กเคลือบอยู่ เช่นฮาร์ดดิสก์ชนิดต่างๆ ดิสก์แบบนี้จะสามารถบันทึกได้มากกว่าดิสก์แบบอ่อน เพราะสามารถบรรจุข้อมูลได้หนาแน่นกว่า และมีความเร็วในการหมุนเร็วมาก ดังนั้นดิสก์แบบนี้จะมีการเก็บที่ดีมาก โดยจะมีกล่องครอบดิสก์ไว้ ไม่ให้มีอากาศ หรือฝุ่นเข้าไปถูกแผ่นดิสก์เลยและในปัจจุบันก็มีอุปกรณ์อีกอย่างที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ เรียกว่า Handy Drive จะเป็นชิปขนาดเล็กที่สามารถเก็บข้อมูลไว้ภายในได้ มีลักษณะคล้าย ROM แบบเขียนได้ โดยจะติดต่อกับเครื่องผ่านพอร์ต USB ปัจจุบันมีตั้งแต่ขนาด 2, 4, 8,… จนถึง 128 Mb
ดิสก์
ดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่าดิสก์มี 2 แบบ โดยมีลักษณะเป็นแผ่นกลมบาง สำหรับโครงสร้างของดิสก์จะมี 3 อย่าง คือ
1. แทร็ก(Track) เป็นลักษณะที่มีการแบ่งดิสก์ออกเป็นวง หลายๆวง แต่ละวงเรียกว่าแทร็ก โดยจะเริ่มที่แทร็ก 0
2. เซกเตอร์(Sector) เป็นการแบ่งแทร็กออกเป็นส่วนๆอีกครั้ง หากมองดูแล้วจะเหมืนเป็นการแบ่งดิสก์ออกเป็นส่วนๆโดยใช้เส้นผ่านศูนย์กลาง สำหรับในดิสก์แบบอ่อนจะมีการแบ่งเซกเตอร์ออกตั้งแต่ 8 ถึง 32 เซกเตอร์ ตามแต่ชนิดแผ่น แต่ในดิสก์แบบแข็งอาจมีการแบ่งเป็นหลายร้อยเซกเตอร์ก็ได้ โดยจะเริ่มที่เซกเตอร์ที่ 0 แต่เนื่องจากความกว้างของเซกเตอร์ในส่วนรอบนอกจะกว้างกว่าด้านใน ในบางครั้งจะมีการแบ่งเซกเตอร์ที่อยู่ในส่วนนอกอีกครั้งเพื่อให้มีขนาดที่เหมาะสม
3. ไซลินเดอร์(Cylinder) เนื่องจากดิสก์แบบแข็งจะมีดิสก์หลายแผ่นเรียงซ้อนกัน เราจะเรียกแทร็ก และเซกเตอร์ ของดิสก์แต่ละแผ่นที่ตรงกันว่า ไซลินเดอร์
หน่วยที่เล็กที่สุดในโครงสร้างของดิสก์คือบล็อก(Block) หรือช่องที่เกิดจากการแบ่งแทร็ก และเซกเตอร์นั่นเอง ซึ่งบล็อกนี้อาจจะมีเนื้อที่ 512 ไบต์ หรือ 1024 ไบต์ ก็ได้ ตามแต่วิธีการจัดการดิสก์





อ้างอิง

เรื่องส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ : http://iconsult.atspace.com/iDocuments/comfix1.htm

รูปภาพ :http://iconsult.atspace.com/iDocuments/comfix1.htm

mis


MIS คือ ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System) หรือ MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ Management Information System : MIS ข้อมูลเพิ่มเติม

เป็นระบบการจัดหาคนหรือข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลเพื่อการดำเนินงานขององค์การการจัดโครงสร้างของสารสนเทศโดยแบ่งตามลำดับการนำไปใช้งานสามารถแบ่งได้ 4 ระดับดังนี้

1. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในการวางแผนนโยบาย กลยุทธ์ และการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง

2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในส่วนยุทธวิธีในการวางแผนการปฏิบัตและการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง

3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในระดับปฎิบัติการและการควบคุมในขั้นตอนนี้ผู้บริหารระดับล่างจะเป็นผู้ใช้สารสนเทศเพื่อช่วยในการปฎิบัติงาน

4. ระบบสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผล

ระบบสารสนเทศเป็นระบบรวมทั้งนี้เนื่องจากไม่สามารถเก็บรวบรวมในลักษณะระบบเดียวเนื่องจากขนาดข้อมูลมีขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนมาก ทำให้การบริหารข้อมูลทำได้อยาก การนำไปใช้ไม่สะดวก จึงจำเป็นต้องแบ่งระบบสารสนเทศออกเป็นระบบย่อย 4 ส่วนได้แก่

ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing System :TPS)

ระบบจัดการรายงาน (Management Reporting System :MRS)

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System :DSS)

ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information System :OIS)



อ้างอิง



sniffer


Sniffer คือโปรแกรมที่เอาไว้ดักอ่านของมูลที่วิ่งอยู่บน Traffic (Traffic แปลเลย ตรงตัว คือการจราจรบนระบบ network นะ) มันทำหน้าที่ดักอ่านข้อมูลที่วิ่งไปวิ่งมาบนเน็ตเวิร์คที่มันอยู่ (คล้ายๆ การดักฟังโทรศัพท์ แต่การดักฟังโทรศัพท์จะทำได้ทีละเครื่อง แต่ sniffer ทำได้ทีเดียวทั้ง network เลย) การใช้ sniffer เข้ามาใน ระบบ network นั้นทำให้มาตราการรักษาความปลอดภัยบน network นั้นด่ำลงไป


หลักการทำงานของ Sniffersniffer สามารถดักอ่านข้อมุลบน network ได้นั้นมีสาเหตุสำคัญคือ ด้วยลักษณะ protocol ethernet ที่ใช้หลักของการกระจายข้อมูล ไปยังทุกโฮสต์ที่อยู่ใน Network


การป้องกันการถูกดักอ่านข้อมูลโดย snifferเมื่อรู้แล้วว่า sniffer มีโทษ เราก็มาดูวิธีป้องกันกันดีกว่า1. อย่างแรกเลย เปลี่ยนจาก Hub มาใช้ Switch (แพงกว่าไม่มาก)2. หลีกเลี่ยงการส่งข้อมูลที่ไม่มีการเข้ารหัส3. ให้ตระหนักว่า ใน network นั้นสามารถถูกดักอ่านได้เสมอ เพราะฉะนั้นการส่งข้อมูลแต่ละครั้ง ต้องประเมินว่า หากโดนดักอ่านแล้วจะคุ้มกันมั้ย หากมีความสำคัญมากควรหาวิธีอื่นในการส่งข้อมูล4. หากมีการใช้บริการเกี่ยวกับด้านการเงิน หรือข้อมูลรหัสผ่าน ให้เลือกใช้ผู้บริการที่เข้ารหัสข้อมูลด้วย SSL5. หากสามารถเพิ่มความปลอดภัยของการส่งข้อมูลด้วยการเข้ารหัส ก็จะเป็นวิธีที่ดี แม้การส่งแบบนี้จะโดนดักได้ แต่ข้อมูลมีการเข้ารหัสไว้ ทำให้คนที่ดักไป ต้องไปนั่งปวดหัวถอดกันอีก ส่วนโปรแกรมเข้ารหัสไฟล์ก็มีให้เห็นกันพอสมควรแล้ว6. หากมีการสื่อสารข้อมูลภายในองค์กรโดยผ่านอินเทอร์เน็ต การนำเทคโนโลยีของ VPN (Vitual Private Network) มาใช้จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยได้


การใช้ประโยชน์จาก Snifferเอาละคงไม่มีสิ่งใดมีโทษเสียอย่างเดียว เรามาดูจุดประสงค์ที่มัน (sniffer) เกิดมากัน ว่าจะมีประโยชน์แค่ไหน1. Network Analyzerแปลตรงตัวครับ คือการนำ sniffer มาดักข้อมูลบนเน็ตเวิร์คทำให้เรารู้ว่า network นั้นเป็นไปอย่างไร มี packet (หรือข้อมูล) ที่วิ่งไปวิ่งมานั้น มีอะไรบ้าง และ แพ็กเก็ต ที่วิ่งไปวิ่งมา มีอันตรายอะไรหรือเปล่า มีผู้ใช้มาน้อยเพียงไร เวลาใดมีคนใช้เยอะและเวลาใดมีคนใช้น้อย ผู้ใช้ ใช้แบนด์วิดธ์ไปในทางไหนบ้าง ข้อมูลเหล่านี้ เราสามารถเอามาประเมินเพราะจัดการระบบ network ของเราได้2. Network Debugging Toolsในบางครั้ง Application ที่สื่อสารกันบน network นั้นเกิดมีความผิดพลาดขึ้นมาในการส่งข้อมูลและสื่อสาร เราต้องสืบลงไปดูถึงการวิ่งของ แพ็กเก็ตกันเลย และ sniffer นี่แหละที่จะช่วยไปสืบมาให้เราดู เพื่อจะดูว่า การส่งข้อมูลนั้นถูกต้องหรือไม่ มีอะไรแปลกปลอมวิ่งอยู่รึเปล่า โดนเฉพาะกรณีที่มีการใช้เครื่องมือระดับ network มาเกี่ยวด้วย เช่น ส่งไฟล์ผ่าน fire wall แล้วมีปัญหา หรือการทดสอบ ACL (Access Control List) ของเราเตอร์ เป็นต้น หากไม่มี sniffer แล้วเราก็จะหากต้นตอของปัญหาได้ยาก3. Packet Monitoring กรณีการศึกษาโปรโตคอลในระดับ network จำเป็นต้องเห็นข้อมูลที่มันสื่อสารกันจึงจะเห็นภาพจริงได้ packet monitoring เป็นการนำแพ็กเก็ตมาแสดงให้ดูให้ผู้ใช้เห็นในรูปแบบต่างๆ เช่นการ scan ของ hacker หากไม่มีเครื่องมือประเภท sniffer แล้วเราก็จะรู้ได้ลำบาก4. IDS (Intrusion Detection System)IDS คือ ระบบตรวจจับผู้บุกรุก เป็นตัวที่อยู่บน traffic เพื่อดูข้อมูลที่วิ่งไปวิ่งมาบน network ว่ามีข้อมูลอะไรบ้าง และหากมีข้อมูลที่เป็นอันตราย ตามที่มันได้ถูก config ไว้มันก็จะเตะข้อมูล(หรือแพ็กเก็ต)นั้นทิ้งไป และหากมันพบว่าข้อมูลไม่เป็นอันตราย มันก็จะอนุญาติให้ผ่านไป การทำงานต่างกับไฟล์วอลนะ อย่าเหมารวมกัน ซึ่ง IDS นั้นถือว่าเป็นเครื่องมือกันทรงพลังของเหล่า admin. เลย และ IDS ก็จะมี sniffer อยู่ในตัวมันด้วย






อ้างอิง


เรื่อง sniffer : http://www.eduzones.com/